รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ  ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
ผู้วิจัย       นายจักพร  พันหล่อมโส
ปีที่วิจัย    2555

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์    2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการ โดยนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  70  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ร้อยละ  70  ขึ้นไป ศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์  อำเภอเขาสวนกวาง  จังหวัดขอนแก่น  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  ภาคเรียนที่  2                    
ปีการศึกษา  2555  จำนวน  34  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ    1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ  ได้แก่ 
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์  จำนวน  14  แผนการจัดการเรียนรู้  2)  เครื่องมือที่ใช้
ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ  ได้แก่  แบบบันทึกการสังเกต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แบบบันทึก   การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  แบบบันทึกผลหลังการใช
้แผนการจัดการเรียนรู้  ใบงาน  แบบทดสอบท้ายวงจร  3)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ได้แก่ 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง  อสมการ   การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 
ซึ่งแบ่งออกเป็น  3  วงจร  การวิเคราะห์ข้อมูล   โดยใช้ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และสรุปเป็นความเรียง

ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรม   4  ขั้น   ดังนี้   1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อทบทวน
ความรู้เดิมโดยการเฉลยแบบฝึกทักษะ  ทบทวนเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียน  การเล่นเกม  และการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยการให้นักเรียนหรือครูอ่านให้ฟัง 
2)  ขั้นสอน  ประกอบด้วย  (1)  ขั้นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล เป็นการแก้ปัญหารายบุคคลจากสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้ (2)  ขั้นแก้ปัญหาระดับกลุ่มย่อย
โดยแบ่งกลุ่มนักเรียน 4-5  คน  แต่ละคนนำเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาต่อกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มพิจารณาตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสม และบันทึกลงในใบงาน 
(3) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อชั้นเรียน  ตัวแทนนำแนวทางการแก้ปัญหาของกลุ่มเสนอต่อชั้นเรียน  3) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวคิด
หลักการในเรื่องที่เรียน  สมาชิกทุกคนอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา   4)  ขั้นฝึกทักษะ 
เป็นขั้นที่ให้นักเรียนนำความรู้        ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ จากแบบฝึกทักษะที่ครูเตรียมมา  สรุปผลการจัดกิจกรรม  การเรียนรู้  ตามวงจรการศึกษา ดังนี้
วงจรที่ 1  ผลการทดสอบท้ายวงจร  คะแนนเต็ม  30  คะแนน  คะแนนผ่านเกณฑ์  21  คะแนน  นักเรียนได้คะแนนสูงสุด  29  คะแนน  คะแนนต่ำสุด  11  คะแนน  
คะแนนเฉลี่ยทั้งชั้น  22  คะแนน คิดเป็นร้อยละ  73.33  จำนวนนักเรียน  ที่ผ่านเกณฑ์  27  คน  คิดเป็นร้อยละ 79.41
วงจรที่ 2  ผลการทดสอบท้ายวงจร  คะแนนเต็ม  20  คะแนน  คะแนนผ่านเกณฑ์  14  คะแนน  นักเรียนได้คะแนนสูงสุด  20  คะแนน  คะแนนต่ำสุด  9  คะแนน  
คะแนนเฉลี่ยทั้งชั้น  14.85  คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.26  จำนวนนักเรียน  ที่ผ่านเกณฑ์  26  คน  คิดเป็นร้อยละ 76.47
วงจรที่ 3  ผลการทดสอบท้ายวงจร  คะแนนเต็ม  25  คะแนน  คะแนนผ่านเกณฑ์ 18  คะแนน  นักเรียนได้คะแนนสูงสุด  24  คะแนน  คะแนนต่ำสุด  12  คะแนน 
คะแนนเฉลี่ยทั้งชั้น 19.06  คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.24 จำนวนนักเรียน  ที่ผ่านเกณฑ์  25  คน  คิดเป็นร้อยละ 73.53
พบว่านักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้  ฝึกทักษะการคิด  ทักษะการทำงานกลุ่มรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  
มีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบ
2.  นักเรียนจำนวนร้อยละ  76.47  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ  70  ขึ้นไป

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

อสมการ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง  ประโยคภาษาและประโยค สัญลักษณ์

รหัสวิชา  ค23102

วันที่         เดือน                           พ.ศ.  2555

เวลา  1  ชั่วโมง

สาระที่ 4  : พีชคณิต
มาตรฐานการเรียนรู้
                 มาตรฐาน  ค 4.2   ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ
แทนสถานการณ์ต่างๆตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

ตัวชี้วัด

   ค 4.2   ม.3/1  ใช้ความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวในการแก้ปัญหา  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ    
1.  สาระสำคัญ
ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวน โดยมีเครื่องหมาย  > , < , ³ , £  และ ¹   เรียกว่า  “ อสมการ ”
2.  จุดประสงค์การเรียนรู้  นักเรียนสามารถ
ด้านความรู้
1)  เปลี่ยนประโยคภาษาเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้
2)  เปลี่ยนประโยคสัญลักษณ์เป็นประโยคภาษาได้
3)  ทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง  80 %
ด้านทักษะ/กระบวนการ
4)  บอกเหตุผลในการเปลี่ยนประโยคภาษาและประโยคสัญลักษณ์ที่กำหนดให้ได้
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5)  ทำงานอย่างเป็นระบบ  มีระเบียบวินัย  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
3.  สาระการเรียนรู้
ประโยคทางคณิตศาสตร์สามารถเขียนอยู่ในรูปข้อความหรือรูปสัญลักษณ์ได้  เช่น 
จำนวนจำนวนหนึ่งลบด้วยห้าเท่ากับ  -2
สามเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งมากกว่า  -6
ผลบวกของจำนวนจำนวนหนึ่งกับสามเท่าของจำนวนนั้นน้อยกว่า  12
ประโยคข้างต้น  เรียกว่า  “  ประโยคภาษา “  แต่ถ้าใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแทนประโยคดังกล่าว   ดังนี้
X  -  5   =    -2
3X   >    -6
X +  3X  <    12
ประโยคดังกล่าวเรียกว่า  “ ประโยคสัญลักษณ์ “  ประโยคสัญลักษณ์จะมีตัวแปรหรือไม่มีก็ได้   เช่น   3 – 5  =  -  2
ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์    =     บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเรียกว่า  “ สมการ
ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์   >  ,  <  ,  ³ , £  และ  ¹   บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเรียกว่า  “ อสมการ

ดาวน์โหลดเอกสาร